วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน ครั้งที่ 2

การเรียนวิชา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
รหัสวิชา 1061601 (สรุปบทที่ 3-6)
บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น การดำเนินงานขององค์กรก็เปลี่ยนไปทุกองค์กรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ผู้บริหารแต่ละระดับจะมีหน้าที่รับผิดชอบและตัดสินใจในการแก้ปัญหาแตกต่างกัน สารสนเทศก็จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดสินใจ ช่วยให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจได้ถูกต้องและมีความเสี่ยงน้อยลง ปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากผู้บริหารไม่มีสารสนเทศช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกทางเลือกที่เหมาะสม
บทที่ 4 เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง และเทคโนโลยีสมัยใหม่
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมมีผลกระทบในแง่ลบ คือ
1. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม
2. ช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว
3. ช่วยทำให้เกิดระบบการทำงานร่วมกันได้ในทุกที่
4. มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
5. ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเองโดยใช้ห้องสมุดเสมือนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ผลกระทบในแง่ลบ
1. มีผลกระทบทางด้านพื้นฐานของโครงสร้างทางสังคม ทำให้เกิดความขัดแย้งทางแนวความคิดระหว่างแนวความคิดเก่ากับใหม่
2. มีการก่ออาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น
3. อัตราการจ้างงานลดลง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
- มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทางด้านการเมือง เช่น การเตรียมข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว
เทคโนโลยีสมัยใหม่
- มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างสารสนเทศมากมาย สารสนเทศที่ดีได้มาจากการจัดการกับข้อมูลที่ดีทำให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
1. เพิ่มปริมาณการขาย
2. การลดต้นทุนการผลิต
3. การเพิ่มผลผลิต
4. การเพเมคุณภาพของสินค้าและบริการ
5. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนานวัตกรรมซึ่งมีองค์ประกอบ คือ โครงสร้างองค์กร บุคลากร กระบวนการ กลยุทธ์และยุทธวิธี และเครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษามีอยู่ 3 ระดับคือ ความเป็นเลิศของบุคคล ความเป็นเลิศของทีมงาน และความเป็นเลิศขององค์กร
บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้บริหารสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญหลายอย่าง เช่น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซด์ ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
บทเรียนออนไลน์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม
- การเรียนการสอนบนเว็บ
- การเรียนออนไลน์
- การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา

บทคัดย่องานวิจัย
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะชุดกิจกรรมพาเพลิน สาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าศรีไคล สำนักงานเขตพื้นที่
สกลนคร เขต 3
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางกิมหลี ทองประทุม
ปริญญา ค.บ. (พลศึกษา)

บทคัดย่อ
แบบฝึกทักษะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาการของนักเรียน หากครูใช้เทคนิคและกระบวนการสอนที่เหมาะสม ก็จะช่วยส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี เกิดความสนุกสนาน โดยแนวคิดเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในปัจจุบันเชื่อว่า พลศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพจนมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี โดยให้มีทั้งความรู้ ความเข้าใจ ทักษะหรือกระบวนการและคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมตามแนวการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แบบฝึกทักษะชุดกิจกรรมพาเพลิน นักเรียนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งใน การร่วมมือกับครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ผู้รายงานได้ทำการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ โดยมีความมุ่งหมายในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้แบบฝึกทักษะชุดกิจกรรมพาเพลิน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และศึกษาดัชนีประสิทธิพลของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านท่าศรีไคล อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกทักษะชุดกิจกรรมพาเพลิน สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุดการเรียนรู้ รวมเวลา 20 ชั่วโมง แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. ผลการหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่า E1/E2 = 84.86/83.15 แสดงว่าผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะชุดกิจกรรมพาเพลิน สาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าศรีไคล จังหวัดสกลนคร มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (80/80) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนหลังการทดลองของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะชุดกิจกรรมพาเพลิน สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าศรีไคล จังหวัดสกลนคร ดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ เท่ากับ 0.62 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62
3. ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการพัฒนาแบบฝึกทักษะชุดกิจกรรมพาเพลิน สาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มากที่สุด” ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66
โดยสรุปผลการศึกษาค้นคว้าดังนี้ทำให้ได้แบบฝึกทักษะชุดกิจกรรมพาเพลิน สาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
กิมหลี ทองประทุม.(2551).รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะชุดกิจกรรมพาเพลิน สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าศรีไคล สำนักงานเขตพื้นที่สกลนคร เขต 3.สกลนคร.
ประโยชน์ที่ได้จากการค้นคว้า
1. ได้รู้วิธีการและรูปแบบของการเขียนงานวิจัย
2. ได้รู้ถึงวิธีการค้นหางานวิจัย
3. เป็นแนวทางที่จะทำงานวิจัยต่อไปในอนาคตได้